วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอ เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 83kVA อ.ยางสีสุราช มหาสารคาม

ฟาร์มสุกรขุน ขนาด 4 เล้า จำนวนสุกร 2,800 ตัว ที่ัตั้งฟาร์มอยู่กลางทุ่งนาไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทางฟาร์มจึงขุดบ่อหมักแก็สขนาดใหญ่ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับเเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ได้ตลอดวัน



ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอ เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 70kW บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี

เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 70kW เครื่องที่ 2 ของฟาร์มแห่งนี้ นำเข้ามาเสริมเพื่อสลับปั่นไฟฟ้ากับเครื่องเดิม จะได้ปั่นไฟฟ้าได้ทั้งวัน




ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอ เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW อ.น้ำพอง ขอนแก่น

ฟาร์มสุกรขุนขนาด 2 เล้า สุกร 1300 ตัว บ่อแก๊สแบบปูน(มช) มีสกรูขนอาหาร และนำไฟฟ้าเข้าใช้ในส่วนของบ้านพักด้วย ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น




ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การผลิตแก๊สชีวภาพจากกากตะกอนดีแคนเตอร์โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มร่วมกับมูลสุกร

ก า ก ต ะ ก อ น ดีแ ค น เ ต อ ร์เ ป็นวัสดุเ ศ ษ เ ห ลือ จา ก กระบวนการสกัดน้ำ มันปาล์ม ซึ่งสามารถนำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการผลิตแก๊สชีวภาพได้ งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาการหมักร่วมกันระหว่างกากตะกอนดีแคนเตอร์กับมูลสุกร ที่
อัตราส่วนผสมต่างๆ เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุดในการผลิตแก๊สชีวภาพ โดยใช้อัตราส่วน น้ำหนักกากตะกอนดีแคนเตอร์ 0.5 กิโลกรัมต่อมูลสุกร 50 มล. (10%) 100 มล. (20%) 150 มล.(30%) 200 มล. (40%) และ 250 มล. (50%) โดยปริมาตร ระบบ
หมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digester) ทำการหมักเป็นระยะเวลา 12 วัน ภายใต้อุณหภูมิห้อง (27 ± 3 องศาเซลเซียส) เก็บตัวอย่างน้ำหมักวัดค่า pH และปริมาตรแก๊สทุก 3 วัน วัดป ริม า ณ แ ก๊ส ชีว ภ า พ ที่เ กิด ขึ้น โ ด ย ก า ร แ ท น ที่น้ำ ( fluid displacement method) พบว่า การหมักกากตะกอนดีแคนเตอร์ร่วมกับมูลสุกร แบบไร้อากาศ อัตราส่วนมูลสุกรที่ทำให้เกิดแก๊สสูงสุด คือ อัตราส่วนผสมมูลสุกร 10% ซึ่งมีปริมาณแก๊สชีวภาพเท่ากับ มิลลิลิตรต่อวัน รองลงมา คือ 40% และ30%



ระบบการหมักแบบไร้อากาศจำลองในห้องปฏิบัติการ
การหมักกากตะกอนดีแคนเตอร์จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มร่วมกับมูลสุกร โดยใช้อัตราส่วน น้ำหนักกากตะกอนดีแคนเตอร์ 0.5 กิโลกรัมต่อมูลสุกร 50 มล. (10%) 100 มล. (20%)150 มล. (30%) 200 มล. (40%) และ 250 มล. (50%) โดยปริมาตร ทำการทดลอง 3 ซ้ำ
ชุดที่ 1 ผสมกากตะกอนดีแคนเตอร์ต่อมูลสุกร ด้วยอัตราส่วน น้ำหนัก 0.5 ก.ก. ต่อ 50 มล. (10%)
ชุดที่ 2 ผสมกากตะกอนดีแคนเตอร์ต่อมูลสุกร ด้วยอัตราส่วน น้ำหนัก 0.5 ก.ก. ต่อ100 มล. (20%)
ชุดที่ 3 ผสมกากตะกอนดีแคนเตอร์ต่อมูลสุกร ด้วยอัตราส่วน น้ำหนัก 0.5 ก.ก. ต่อ 150 มล. (30%)
ชุดที่ 4 ผสมกากตะกอนดีแคนเตอร์ต่อมูลสุกร ด้วยอัตราส่วน น้ำหนัก 0.5 ก.ก. ต่อ 200 มล. (40%)
ชุดที่ 5 ผสมกากตะกอนดีแคนเตอร์ต่อมูลสุกร ด้วยอัตราส่วน น้ำหนัก 0.5 ก.ก. ต่อ 250 มล. (50%)
แบบจำ ลองระบบหมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digester) มีลักษณะเป็นขวดแก้ว ขนาด 1 ลิตร ปริมาตรการใช้งาน 0.8 ลิตร ปิดปากขวดด้วยจุกยางพันทับด้วยพาราฟิล์ม



ผลการทดลองและอภิปรายผล
1) ลักษณะของวัสดุหมัก
วัสดุที่ใช้สำหรับหมัก คือ กากตะกอนดีแคนเตอร์โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จากจากบริษัททักษิณน้ำมันปาล์ม จ.สุราษฎ์ธานี ส่วนหัวเชื้อไร้อากาศ (Pig Manure) จากบ่อพักมูลสุก ร ภ า ค วิช า สัต ว ศ า ส ต ร์ ค ณ ะ ท รัพ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งจากการวิเคราะห์สมบัติของมูลสุกรสดที่นำมาใช้ในการทดลอง พบว่า มูลสุกรมีค่า pH ที่ 5.56 ค่า TS เท่ากับ 36.58 mg/L ค่า TSSเท่ากับ 22.12 mg/L
2) ผลการทดลองของระบบการหมักแบบไร้อากาศในห้องปฏิบัติการ
ในการทดลองนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตแก๊สชีวภาพจากการหมักกากตะกอนดีแคนเตอร์กับมูลสุกรที่อัตราส่วนผสมระดับต่างๆ โดยผสมกันในอัตราส่วนผสมน้ำหนักกากตะกอนดีแคนเตอร์ 0.5 กิโลกรัมต่อมูลสุกร 50 มล. (10%) 100
มล. (20%) 150 มล. (30%) 200 มล. (40%) และ 250 มล.(50%) โดยปริมาตร ทำการทดลอง 3 ซ้ำ โดยทำการหมักแบบกะ(batch) ภายใต้อุณหภูมิห้อง (27.7-29.5 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 12 วัน โดยวัดแก๊สที่เกิดขึ้น 3 วัน โดยอาศัยหลักการแทนที่น้ำ ในระหว่างการทดลองได้ทำการวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และองค์ประกอบของแก๊สชีวภาพ ซึ่งมีรายละเอียดในการวิเคราะห์ผลดังต่อไปนี้

2.1) อุณหภูมิ (Temperature)
อุณหภูมิมีผลต่อจุลินทรีย์เป็นอย่างมาก โดยอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์หรือปฏิกิริยาทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ขึ้นกับอุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มอุณหภูมิในการทดลองครั้งนี้ทดลองภายใต้อุณหภูมิห้อง (27.7-29.5 องศาเซลเซียส) เมื่อเริ่มเดินระบบ พบว่า อุณหภูมิเริ่มต้นของวัสดุหมักที่ป้อนเข้าระบบมีค่าอยู่ระหว่างช่วง 29.0-30.5 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิวันสิ้นสุดการทดลองมีค่าอยู่ในช่วง 29.9-30.2 องศาเซลเซียส (Grady et al., 1999) ได้รายงานว่าช่วงอุณหภูมิ 10องศาเซลเซียส จุลินทรีย์ยังสามารถทำงานได้ แต่ประสิทธิภาพต่ำ
และค่าแนะนำต่ำสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ คือ 20-25 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่า ค่าอุณหภูมิตลอดการทดลองมีค่าสูงกว่าค่าแนะนำต่ำสุด ดังนั้น อุณหภูมิจึงไม่มีผลกระทบต่อการทำงานและเติบโตของจุลินทรีย์สร้างมีเทนและไม่จำ เป็นต้องป้อนพลังงานใดๆ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิแก่ระบบ

2.2) ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
จากการศึกษาค่าพีเอชของวัสดุหมัก ก่อนป้อนเข้าสู่ถัง ปฏิกรณ์หมัก พบว่า ในทุกอัตราส่วนผสม มีค่าอยู่ระหว่าง 4.10- 4.17 (ภาพประกอบที่ 4) เมื่อเดินระบบ จะเห็นว่าค่าพีเอชของ ระบบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์สร้างมีเทนมีการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าจุลินทรีย์สร้างกรด และมีจำนวนเพิ่มขึ้น



2.3) อัตราการผลิตแก๊สชีวภาพ (Biogas production)
จากการทดลองได้ทำการวัดปริมาณแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้นโดยการแทนที่น้ำ โดยปริมาณแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการเกิดแก๊ส เมื่อเดินระบบ พบว่า แก๊สชีวภาพในช่วง 2 วันแรกเกิดขึ้นสูงสุด (ภาพประกอบที่ 5) และจะลดลง
ต่ำสุดในช่วงวันที่ 4 และ 5 จากนั้นแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้นจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในทุกอัตราส่วนผสมต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากจุลินทรีย์จะใช้สารอาหารที่ย่อยง่ายก่อนในวันแรกๆ จึงทำให้ได้แก๊สชีวภาพอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะเหลือสารอินทรีย์ที่ย่อยยาก อีกทั้งค่าพีเอชที่ต่ำลงกว่า 5.0 เป็นช่วงที่ไม่เหมาะสมต่อการผลิตแก๊ส
ชีวภาพของจุลินทรีย์ เมื่อพิจารณาปริมาณแก๊สชีวภาพ(ภาพประกอบที่ 5)อัตราส่วนที่ให้ปริมาณแก๊สชีวภาพต่อวันสูงสุด คือ อัตราส่วนผสมน้ำหนักกากตะกอนดีแคนเตอร์ 0.5 กิโลกรัมต่อมูลสุกร 50 มล. (10%) ให้แก๊สชีวภาพ เท่ากับ498.33 มล. อัตราส่วนมูลสุกร.40% ให้แก๊สรองลงมาเท่ากับ420.00 มล. และที่อัตราส่วนผสมมูลสุกรที่ระดับ 50% ให้แก๊สชีวภาพน้อยที่สุดเท่ากับ 143.33 มล.ปริมาณแก๊สชีวภาพสะสม (ภาพประกอบที่ 6) อัตราส่วนผสมที่ให้แก๊สชีวภาพสะสมสูงสุด คือ อัตราส่วนผสมน้ำหนักกากตะกอนดีแคนเตอร์ 0.5 กิโลกรัมต่อมูลสุกร 50 มล. (10%) ให้แก๊สชีวภาพ เท่ากับ 1,362.33 มล. อัตราส่วนมูลสุกร.40% ให้แก๊สรองลงมาเท่ากับ 1,175.33 มล. และที่อัตราส่วนผสมมูลสุกรที่ระดับ 50% ให้แก๊สชีวภาพน้อยที่สุดเท่ากับ 633.66 มล.




3. สรุป
การศึกษาการหมักกากตะกอนดีแคนเตอร์ร่วมกับมูลสุกรแบบไร้อากาศ พบว่า อัตราส่วนมูลสุกรที่ทำให้เกิดแก๊สสูงสุด คือ อัตราส่วนผสม 10% รองลงมา คือ 30% และ50%

เอกสารอ้างอิง
[1] วธิดา คะนะแนม. 2552. ผลของมูลไก่ กากตะกอนดีแคนเตอร์ และดินแดงในการผลิตปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มเปล่าปาล์มน้ำมัน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์
มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[2] สมฤดี ฤทธิ์ยากุล. 2551. ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพและผลพลอยได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับสาหร่ายหนามจากทะเลสาบสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[3] Grady, C.P., Daigger, G.T. and Lim, H.C. 1999.Biotechnology Wastewater Treatment. NewYork : Margel Dekker,Inc

ขอขอบคุณ
[1] คุณจุรีย์ ช่วยชาติ โรงเรียนบ้านคลองโตน อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 92210
[2] บทความวิจัย จากเว็ป ครูเพาะพันธุ์ปัญญา

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW ใช้กับฟาร์มโคนม จ.ลำปาง

นำน้ำนมเสียจากขบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ มาหมักเป็นไบโอแก๊ส ของฟาร์มโคนม ที่อำเภอแม่ทะ จ.ลำปาง




ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี

ฟาร์มสุกร 1 เล้า เปลี่ยนจาก เล้าลูกหมูอนุบาล มาเป็นเล้าสุกรขุน มีบ่อแก๊สขนาดใหญ่เป็นบ่อดิน




ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพารา และมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม

Abstract
This research attempted to compare the amount of biogas produced by anaerobic co-digestion between pig manure with rubber leaves and pig manure with palm frond. The pig manure was blended with the rubber leaves or palm frond in the ratio of 15 : 1 by weight. The blends were fed into the two reactors of 150 L in two times, first time in the first day and second time in the third day. The experiment was set under room temperature. It was found that the cumulative amount of the gas for the fifteen days digestion was 73.12 L and 91.68 L for rubber leaves mixed and palm frond mixed, respectively. In addition, the produced biogas
was burnt to find out the total thermal energy by heating water. It was found that the thermal energy were about 17.4 kcal and 129.6 kcal for rubber leaves mixed and palm frond mixed, respectively. The study indicated that the amount of gas from the co-digestion of pig manure with the palm frond is much than the pig manure with rubber leaves. And also the methane in biogas is over 60%.


ปฏิกิริยาการเกิดก๊าซชีวภาพ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม ในอัตราส่วน 15 : 1 กิโลกรัม เติมวัสดุหลังจากหมักไปแล้ว 3 วัน ในถังหมักขนาด 150 L ภายใต้อุณหภูมิห้อง จากการศึกษาพบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมเท่ากับ 73.12 L และ91.68 L ตามลำดับ ตลอดระยะเวลาการหมัก 15 วัน และเมื่อนำก๊าซชีวภาพไปเผาต้มน้ำ พบว่า ให้พลังงานความร้อน 17.4 kcal และ 129.6 kcal ตามลำดับ จากผลการศึกษาบ่งชี้ให้เห็นว่าปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์มมากกว่าการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและจากผลการตรวจสอบก๊าซที่ได้พบว่ามีก๊าซมีเทนสูงกว่า 60% ของก๊าซมาตรฐาน

1)ขั้นตอนและปฏิกิริยาการเกิดก๊าซชีวภาพ
กระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (AnaerobicDigestion)ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การย่อย ( Hydrolysis )ในขั้นตอนนี้ สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จะถูกแบคทีเรียย่อยสลายให้กลายเป็นสาอินทรีย์โมเลกุลเล็ก ความเร็วของกระบวนการย่อยสลายขึ้นอยู่กับเอนไซม์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแบคทีเรีย รวมถึงความเข้มข้นของสารอินทรีย์ ความเข้มข้นของเอนไซม์ อุณหภูมิและการสัมผัสระหว่างเอนไซม์กับสารอินทรีย์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 และ 3 การสร้างกรด ( Acidogenesis andAcetogenesis)
ในขั้นตอนนี้ สารอินทรีย์โมเลกุลเล็กซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์ของการย่อยในขั้นแรก จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดอินทรีย์ชนิดโมเลกุลเล็ก เช่น กรดอะซิติก (Acitic Acid) กรดโพรไพโอนิก (PropionicAcid) กรดวาเลอริก (Valeric Acid) และกรดแลคติก (LacticAcid) โดยแบคทีเรียสร้างกรดโดยกรดที่เกิดขึ้นจะมีกรดอะซิติกสูงสุดในปริมาณที่มากที่สุด และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ด้วย อัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียสร้างกรดจะสูงและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าแบคทีเรียสร้างมีเทน เนื่องจากระบวนการสร้างมีเทนส่วนใหญ่ต้องการใช้กรดอะซิติกเป็นสารตั้งต้น แต่กรดไขมันระเหยง่ายที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์มีหลายชนิด ซึ่งบางชนิดแบคทีเรียสร้างมีเทนไม่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการสร้างมีเทนได้ โดยเป็นกรดไขมันระเหยง่ายขนาดใหญ่ เช่น กรดโพรไพโอนิก กรดบิวทิริก เป็นต้น ทำให้เกิดการสะสมของกรดอินทรีย์ประเภทนี้ในระบบ ธรรมชาติจึงได้สร้างกระบวนการในการเปลี่ยน
กรดไขมันระเหยง่ายที่มีขนาดใหญ่ให้กลายเป็นกรดอะซิติก(Acetogenesis) ซึ่งช่วยทำให้ไม่เกิดการสะสมของกรดอินทรีย์ในระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การสร้างมีเทน (Methanogenesis)
ก๊า ซ มีเ ท น จ ะ ส ร้า ง จ า ก ก ร ด อ ะ ซิติก ก๊า ซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไฮโดรเจน (H2) ที่ได้จากกระบวนการสร้างกรด โดยแบคทีเรียสร้างมีเทน (MethaneFormer Bacteria) การสร้างก๊าซมีเทน มี 2 แบบ แบบแรกเกิด
จากการเปลี่ยนกรดอะซิติกเป็นก๊าซมีเทน คิดเป็น 70% ของก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นได้ในระบบ อีกแบบหนึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน
แบคทีเรียที่เป็นตัวสร้างมีเทนเจริญเติบโตได้ช้าและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตค่อนข้างมาก ช่วงค่าพีเอชที่เหมาะสมต่อการทำงานของแบคทีเรียแคบ โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงพีเอชประมาณ 6.8 - 7.2 (Yadvika et
al., 2004) นอกจากนี้อุณหภูมิก็มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตเช่นกัน อีกทั้งแบคทีเรียในกลุ่มนี้ต้องการสารอาหารที่โครงสร้างไม่ซับซ้อนในการดำรงชีพ ดังนั้นการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นตัวสร้างมีเทนจึงขึ้นอยู่กับการทำงานของแบคทีเรียในขั้นตอนไฮโดรไลซีสและการสร้างกรด โดยแบคทีเรียทุกกลุ่มต้องทำงาน
อย่างสัมพันธ์กัน
2)ผลการทดลองและวิจารณ์ผล
2.1 ปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์มผลการศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม พบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพารา และมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม เท่ากับ 73.12 L และ 91.68 L ตามลำดับจะเห็นว่า ก๊าซชีวภาพสะสมจากการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม มากกว่าการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพารา



2.2 ปริมาณความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม ด้วยวิธีการต้มน้ำ ดังตารางที1

ผลการศึกษาปริมาณความร้อนที่ได้จากการต้มน้ำระหว่างก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์มพบว่าปริมาณความร้อนที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม มากกว่าการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราจากผลการวิจัย ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม
มีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่ปริมาณความร้อนที่ได้แตกต่างกันเนื่องมาจากถังเก็บก๊าซจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราเกิดรอยรั่วบริเวณบอลวาล์วด้านบน ทำให้ปริมาณความร้อนที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อน



3) สรุป
การศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม พบว่าการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม เกิดก๊าซชีวภาพมากกว่าการหมักมูลสุกรร่วมกับใบยางพารา และ ปริมาณความร้อนที่ได้จากการหมัก
มูลสุกรร่วมกับใบยางพาราและมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม ด้วยวิธีการต้มน้ำปรากฏผลปริมาณความร้อนที่ได้จากการหมักมูลสุกรร่วมกับทางปาล์ม ให้พลังงานความร้อนมากกว่า และจากผลการตรวจสอบก๊าซที่ได้พบว่ามีก๊าซมีเทนสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซมาตรฐาน

เอกสารอ้างอิง
[1] ก๊าซชีวภาพ : จากปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่ประโยชน์ทางด้านพลังงาน[ระบบออนไลน์].http://www.tj.co.th/optnews/modules/articles/article.php?id=234
(วันที่ 18 เม.ย. 2553)
[2] สมฤดี ฤทธิ์ยากุล. 2552. ประสิทธิภาพของการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักมูลสุกรร่วมกับสาหร่ายหนามจากทะเลสาบสงขลา.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
[3] Yadvika,Santosh,Sreekrishnan,T.R.,Kohli,S.andRana,V.2004. Enhancement of biogas production from solid substrates using different techniques – a review. Bioresource Technology. vol 95 page 1-10.

ขอขอบคุณ
บทความวิจัย จากเว็ป ครูเพาะพันธุ์ปัญญา


วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 100kVA มาบอำมฤต อ.ปะทิว ชุมพร

ฟาร์มไก่ไข่ ไม่ห่างจากตัวเทศบาลอำมฤต ขนาดประมาณแม่ไก่ 60,000 ตัว มีบ่อหมักไบโอแก๊ส เพื่อควบคุมกลิ่นและความสะอาดเพราะอยู่ไม่ห่างจากชุมชนมากนัก  ใช้ไฟฟ้าประมาณ 60 - 80 แอมป์(3เฟส)
TBG Power ได้ติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้่าไบโอแก๊ส 100kVA โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล Hino EM100 มาแปลงระบบเป็นขุมพลังปั่นไดนาโม

1) เครื่องยนต์ดีเซล Hino EM100 ที่ผ่านการแปลงระบบไบโอแก๊สแล้วมาประกบชนไดนาโมแบบตรงๆ เพื่อไม่ให้กำลังเครื่องยนต์สูญเสีย


2) สร้างแท่นเครื่องปั่นไฟฟ้า ติดตั้งพัดลม หม้อน้ำและ ระบบไฟฟ้าเครื่องยนต์ เครื่องปั่นไฟฟ้าพร้อมนำไปติดตั้ง


3) สุรินทร์ฟาร์ม คือจุดหมายในการติดตั้งครั้งนี้ ฟาร์มตั้งอยู่ไม่ห่างเมืองมาบอำมฤต อ.ปะทิว จ.ชุมพร


4) ด้านหน้าฟาร์ม เรามองเห็นบ่อหมักไบโอแก๊ส บ่อใหญ่อยู่ตรงหน้า


5) กำลังนำเครื่องปั่นไฟฟ้าลงจากรถเพื่อติดตั้งในอาคารที่ ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้


6) ชุดกรองไบโอแก๊สด้วยฝอยเหล็ก รับช่วงกรองไบโอแก๊สต่อจากบ่อกรองแบบมีเดีย เพื่อให้ไบโอแก๊สสะอาด (กำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) เป็นมิตรกับเครื่องปั่นไฟฟ้า


7) ตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อน ใช้งานจริงกันเลย


8) ท่านเจ้าของฟาร์มให้เกียรติ Start เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สเพื่อใช้งานเองเลยครับ



ดูคลิปวีดีโอ

ติดตามผลงาน TBG POWER ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 80kVA อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 80kVA ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Mitsubishi 6D16 เครื่องยนต์ 6 สูบ 7,545 cc. 220 แรงม้าเป็นขุมพลัง กับไดนาโม 80kVA สามารถจ่ายโหลดได้ 70A(3เฟส)
ใช้ที่ฟาร์มสุกรแบบปิด ที่ บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 80kVA ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Mitsubishi 6D16 เครื่องยนต์ 6 สูบ 7,545 cc. 220 แรงม้าเป็นขุมพลัง กับไดนาโม 80kVA สามารถจ่ายโหลดได้ 70A(3เฟส)

ใช้ที่ฟาร์มสุกรแบบปิด ที่ บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี


ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 160kVA ที่ อ.ท่าแซะ ชุมพร

นำไปใช้งานที่ฟาร์มไก่ไข่ขนาด 6 โรงเรือน ผลิตไข่ได้วันละ 60,000 ฟอง ใช้ไฟฟ้าประมาณ 100-120 แอมป์
เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 160kVA ใช้เครื่องยนต์ HINO F17E แปลงระบบเป็นขุมพลังขับไดนาโม ซึ่งทางฟาร์มได้ติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้า 2 เครื่อง เพื่อใช้งานตอนกลางวันและกลางคืน ลดการใช้ไฟหลวง เป็นการช่วยชาติประหยัดไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

1) เครื่องยนต์ดีเซล Hino F17E ขุมพลังของเครื่องปั่นไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์ V8 ขนาด 17,238 cc. 380 แรงม้า นำมาแปลงระบบเป็นไบโอแก๊ส


2) การแปลงระบบคือ ต้องเอาลูกสูบไปลดกำลังอัด และแปลงฝาสูบให้ใส่หัวเทียนได้ ขั้นตอนการแปลงต้องรื้อออกหมด


3) ประกอบกลับ เครื่องยนต์จะถูกการOverhaul ไปด้วย ฟิตพร้อมใช้งานเลยทีเดียว


4) เมื่อเครื่องยนต์พร้อมแล้ว นำมาประกบกับไดนาโม แบบชนตรงๆ เพื่อให้กำลังจากเครื่องยนต์ขับไดนาโมตรงๆ ไม่เสียกำลังกันเลย


5) ทดสอบการทำงานแล้ว ได้ทำสีเครื่องปั่นไฟฟ้าใหม่ ประกอบส่วนต่างพร้อมนำส่งแล้วครับ


6) สุรินทร์ฟาร์ม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ฟาร์มไก่ไข่ขนาดใหญ่  มีแม่ไก่เกือบ 100,000 ตัว ผลิตไข่ไก่ได้วันละ 60,000 ฟอง


 7) เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สคู่แฝด 160kVA ขนส่งมาถึงฟาร์มและพร้อมที่จะติดตั้ง


8) บ่อหมักไบโอแก๊สขนาดใหญ่ 100 X 40 เมตร สามารถผลิตไบโอแก๊สให้กับเครื่องปั่นไฟฟ้า 2 เครื่อง ใช้งานสลับกลางวัน กลางคืนได้แบบสบาย


9) ชุดกรองไบโอแก๊ส


10) ติดตั้งและทดสอบเดินเครื่องปั่นไฟฟ้าจ่ายโหลดกันเลย


11) งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 2 เครื่อง เสร็จแล้ว



ดูคลิปวีดีโอ

ติดตามผลงานของ TBG POWER ได้ที่นี้

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คลิปวีดีโอเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW บุกแดนสะตอ

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30 kW บุกแดนสะตอ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
ที่ "ปากควนฟาร์ม" ฟาร์มสุกรขุนยนาด 1 เล้า 




ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 63kW จ.มหาสารคาม

ฟาร์มสุกรขุน 4 โรงเรือน ประมาณ 3,000 ตัว ที่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เป็นฟาร์มกลางทุ่ง ไฟหลวงไปไม่ถึง เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดที่เหมาะสม 72kVA หรือ 63 kW สามารถจ่ายโหลดไฟฟ้า 3 เฟส ได้ที่ 65 A(แอมป์) ได้แบบสบายๆ

1) เครื่องยนต์ดีเซล(เซียงกง) HINO HO7C 6 สูบ ขนาด 6,728 ซีซี 240 แรงม้า นำมาแปลงเพื่อใช้ไบโอแก๊สเป็นเชื้อเพลิง ประกบชนไดนาโม(ใหม่) ขนาด 72 kVA หรือ 63 kW


2) สร้างแท่นเครื่อง ประกอบหม้อน้ำขนาดใหญ่ ใบพัดลมเป่าขนาด 25 นิ้ว ไม่ต้องห่วงว่าเครื่องปั่นไฟฟ้าจะร้อน และติดตั้งอุปกรณ์ ควบคุมการทำงานอัตโนมัติต่างๆ


3) เมื่อทดสอบการทำงานผ่านแล้วจากโรงประกอบ ถึงเวลานำมาติดตั้งให้กับฟาร์มลูกค้า ให้ใช้งานกันเลย


4) โรงเก็บเครื่องปั่นไฟฟ้า อยู่ไม่ห่างจากบ่อหมักไบโอแก๊สขนาดใหญมากนัก ก่อนนำไบโอแก๊สไปใช้ ต้องผ่านชุดกรองแก๊สก่อน เพื่อกรองและปรับสภาพไบโอแก๊สให้สะอาดและลดความเป็นกรดลง


5) บ่อเก็บเสียงจากท่อไอเสียเครื่องปั่นไฟฟ้า


6) ตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS จ่ายกระแสไฟฟ้าแค่ปลายนิ้วกดปุ่ม


7) เมื่อติดตั้งเสร็จ ปั่นไฟฟ้าใช้งานในฟาร์มกันเลย ไม่ต้องห่วงว่าบ่อแก๊สจะอยู่ไกล พลังดูดของลูกสูบเครื่องยนต์ดูดแรงมาก ไม่ต้องใช้ เครื่องช่วยดูดเลย


8) เถ้าแก่ถ่ายรูปคู่กะเจ้าของฟาร์ม ยิ้ม เป็นที่พอใจกะเครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องนี้มากเลยที่เดียว



ดูคลิปวีดีโอ

ติดตามผลงานของ TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 80kW จ.มหาสารคาม


เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าเครื่องที่ 2 ของฟาร์มแห่งนี้ สั่งเข้าประจำการเนื่องจาก เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สเครื่องแรกถึงเวลาOverhaul

1) เครื่องยนต์ดีเซล(เซียงกง) Hino EM100 6 สูบ 9468 cc. นำมาแปลงระบบไบโอแก๊ส Overhaul ชุดใหญ่




2) ลูกสูบนำไปกว้านลดกำลังอัด เปลี่ยนปลอกสูบ และอัดบูธสลักก้านสูบ


3) สร้างหัวหมูเพื่อประกบเครื่องยนต์กับไดนาโม ตรงๆ จะได้รับกำลังเครื่องยนต์ตรงๆ ไมีสูญเสียไปไหน


4) นำไปติดตั้งที่ฟาร์มสุกรขุน ของลูกค้า ซึ่งฟาร์มนี้จะอยู่กลางทุ่งนา ไฟหลวงเข้าไม่ถึง ทางฟาร์มจึงขุดบ่อหมักแก๊สขนาดใหญ่ สนามฟุตบอลหย่อมๆ นี้เอง


5) ชื่อรุ่นเครื่องยนต์ EM100


6) ชุดกรองไบโอแก็ส ลดกรดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์ และเครื่องยนต์ทำงานได้สมบูรณ์


7) ด้านหลังคือบ่อหมักแก๊สขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับโรงเรือนเครื่องปั่นไฟฟ้า



ดูคลิปวีดีโอ

ติดดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส30kW ที่ จ.พัทลุง

ฟาร์มขนาด 1 โรงเรือน 750 ตัว และมีโครงการขยายฟาร์มอีก 1 หลัง TBG Power ได้นำเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30 kW ใช้เครื่องยนต์(เซียงกง) TOYOTA 2JZ 3,000 cc. เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังขับไดนาโม(ใหม่) 30 kW(40kVA) สามารถจ่ายโหลดได้ 30 แอมป์(A) ได้สบายๆ

1) เครื่องยนต์(เซียงกง) TOYOTA 2JZ นำมาแกะสายไฟ แกะรางหัวฉีด และอื่นๆ เหลือแต่ตัวเครื่องยนต์ นำมาชนกับไดนาโม(ใหม่) โดยการสร้างหัวหมูเชื่อมเพื่อรับแรงบิดจากเครื่องยนต์โดยตรง


2) เมื่อประกอบส่วนต่างๆ เสร็จแล้ว ก็ทำสีใหม่ให้สวยงาม น่าใช้งาน


3) เดินทางสู่ ปากควนฟาร์ม อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง พร้อมติดตั้งแล้วครับ


4) ฟาร์ม 1 โรงเรือน แถมมีไซโลด้วย อยู่ระหว่างเนินเขา ล้อมไปด้วยสวนยางพารา บรรยากาศเงียบสงบ ลมเย็น แต่แดดร้อนมากๆ


5) ใช้รถปิ๊กอัพ ขนเตรื่องปั่นไฟฟ้า ชุดกรองไบโอแก๊สและตู้ควบคุมไฟฟ้าATS 2 คัน เพราะเครื่องขนาดไม่ใหญ่ ขับรถไปสบายๆ แค่ 14 ชัวโมงเอง ระหว่างทาง ท่านตำรวจเป็นห่วงกันเป็นระยะเลย


6) มาถึงแล้วไม่รอช้า เริ่มงานติดตั้งกันเลย นำเครื่องปั่นไฟฟ้าติดตั้งในโรงเก็บ ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้าATS และชุดกรองไบโอแก๊ส


7) ช่องระบายอากาศที่จะให้ด้านหม้อน้ำของเครื่องปั่นไฟฟ้าโพล่ออกมา ทีมงานเจาะช่องสวยเรียบเนียน


8) ต่อท่อแก๊สจากบ่อหมักไบโอแก๊ส เข้าชุดกรองไบโอแก๊ส แล้วทำไมต้องกรองแก๊สด้วย ก็เพราะแก๊สที่หมักมีสภาพเป็นกรดและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่  ก่อนนำไปใช้งานต้องปรับสภาพก๊าซให้เป็นกลางก่อน(กำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(ไม่ช่วยในการจุดระเบิด)


ตอนนี้เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมทดสอบการทำงานแล้ว

ดูคลิปวีดีโอ

ติดตามผลงานTBG Power ได้ที่นี้