วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การผลิตไฟฟ้าจากขยะ โดยการฝังกลบขยะมูลฝอย


เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากหลุมฝังกลบขยะมูลฝอย เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนภายในหลุมฝังกลบ โดยปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ตลอดอายุการดำเนินงานฝังกลบเหมาะสมที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าควรมีปริมาณไม่น้อยกว่า 1 ล้านตันขึ้นไป

ขั้นตอนการนำขยะมาผลิตกระแสไฟฟ้า

1. นำขยะมาแยกประเภทก่อนที่จะนำไปฝังกลบในหลุมขยะ(แลนด์ฟิลล์)    ซึ่งจะต้องเป็นขยะที่ย่อยสลายได้เท่านั้น
2. หลังจากนำขยะมารวมในบ่อแล้ว เมื่อฝนตกน้ำจะไปทำปฏิกิริยาทำให้เกิดก๊าซหลายชนิด ซึ่งจะมีก๊าซมีเทน ปนอยู่ประมาณ 30-55%  ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน
3. แยกก๊าซ โดยภายในบ่อฝังขยะจะมีการติดตั้งท่อนำก๊าซ ไปยังเครื่องแยกก๊าซ เพื่อแยกก๊าซมีเทน ออกมาเข้าเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า อยู่ที่จะเลือกวิธีไหนในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีวิธีหลักๆ อยู่ 3 วิธีดังนี้
      1. ระบบกังหันไอน้ำ
      2. ระบบกังหันก๊าซเดินคู่กับระบบกังหันไอน้ำ
      3. ระบบเครื่องยนต์ก๊าซสันดาปภายใน


4. หลังจากนำขยะมาฝังกลบแล้ว ต้องใช้เวลาหมักขยะอย่างต่ำหนึ่งปีครึ่ง จึงจะมีก๊าซเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

กลุ่มประเทศที่มีการผลิตพลังงานโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะมูลฝอยกันมากได้แก่ ประเทศในกลุ่มยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และประเทศในแถบเอเชีย (เกาหลีใต้ ฟิลิปินส์ เป็นต้น)
สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มนำร่องขึ้นในปี พ.ศ. 2538 โดยศูนย์ปฏิบัติการ วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 650 kW

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น