วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 125kW ที่ ท่าแซะ จ.ชุมพร

ฟาร์มไก่ไข่ ที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นฟาร์มลูกค้าที่เคยใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 80kW ได้ขยับขนาดเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น

เริ่มงานติดตั้งกันเลย การขนส่งใช้รถหกล้อและยกขึ้นลงด้วยเครนในคันรถ เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในงาน


เข็นเครื่องปั่นไฟฟ้าเข้าโรงเก็บ ใช้เหล็กแป๊บสอดใต้เครื่องแล้วก็ออกแรงเข็นให้เข้าที่ถึงจุดติดตั้ง


ที่จุดติดตั้ง จะรองแท่นเครื่องด้วยยางแท่นกระจายรอบแท่น และจะเริ่มประกอบอุปกรณ์ต่างๆ และท่อส่งไบโอแก๊สจากบ่อหมักที่ผ่านชุดกรองแก๊สแล้ว


เมื่อประกอบอุปกรณ์กาวนาไฟฟ้า เซ็นเซอร์ต่างๆ ไฟฟ้าควบคุม และระบบสายไฟส่งเรียบร้อย เครื่องปั่นไฟฟ้าก็พร้อมทดสอบการทำงานกันเลย



ติดตามผลงานTBG Power ได้ที่นี้

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 200kW ที่ จ.เชียงราย

ที่อำเภอเชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำเหนือสุดของประเทศไทย มีฟาร์มไก่ไข่ขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่หลายฟาร์ม และแล้วTBG Power ก็ได้รับความไว้วางใจให้รับใช้เรื่องผลิตเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส ขนาด 200kW / 250kVA แก่ 2 ฟาร์ม

ทั้งสองฟาร์มใช้เเครื่องปั่นไฟฟ้าแบบเดียวกัน ฟาร์มละ 2 เครื่อง ดังนี้คือ เครื่องยนต์ต้นกำลัง เป็นเครื่องยนต์ Hino F21C ( V8 , 20,781 cc) นำมาแปลงให้ใช้ไบโอแก๊สเป็นเชื้อเพลิงได้  ไดนาโมขนาด 200kW / 250kVA สามารถจ่ายโหลด 200A ได้สบายๆ และหม้อน้ำพร้อมมอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว สำหรับระบายความร้อน

ฟาร์มที่แรก เครื่องปั่นไฟฟ้า 2 เครื่อง พร้อมชุดกรองแก๊ส และตู้ควบคุมไฟฟ้า (ATS) บรรทุกเต็มคันพอดี


การจัดเรียงเครื่องปั่นไฟฟ้า เพื่อเตรียมติดตั้งชุดท่อไอเสีย ท่อนำไบโอแก็ส ชุดกรองทำความสะอาดไบโอแก๊ส และการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าระหว่างไฟหลวงกับไฟเครื่องปั่นไฟฟ้า โดยมีตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS เป็นตัวกลาง



ฟาร์มที่สอง เครื่องปั่นไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ บรรทุกเต็มคันเหมือนกัน


แนวการจัดวางเครื่องปั่นไฟฟ้าและตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ


แนวท่อไอเสียลงบ่อเก็บเสียง เพื่อลดเสียงดังของท่อไอเสีย


การติดตั้งชุดกรองไบโอแก๊ส เราใช้ตู้สแตนเลส 3 ตู้ ดังนี้ ตู้แรกเป็นตู้ม่านน้ำตก ตู้ที่ 2 เป็นตู้กรองน้ำผ่านมีเดีย และตู้ที่ 3 เป็นตู้ฝอยเหล็ก ซึ่งตู้ทั้งหมดวางอยู่บนบ่อน้ำปูนขาว
ไบโอแก๊สที่ผ่านการกรองแล้ว ความเป็นกรดจะลดลงถึงระดับไม่เป็นอันตรายต่อโลหะของเครื่องยนต์ และระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงเหลือแต่ก๊าซมีเทนระดับที่เหมาะสมต่อการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ในห้องเผาไหม้


ค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนหลักของการทำฟาร์มไก่ไข่ ซึ่งถ้าสามารถลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าได้ เงินส่วนส่วนนี้จะคืนสู่ฟาร์มเป็นกำไรได้ในอนาคต และเป็นการนำสิ่งปฏิกูลมูลไก่มาให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดมลภาวะต่อสิงแวดล้อม และได้พลังงงานสะอาดด้วย

ติดตามผลงาน TBG Power ได้ที่นี้

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 300kW ที่ จ.ราชบุรี

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 300kW / 375kVA ที่ฟาร์มหมู จ.ราชบุรี

เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส ขนาดใหญ่ที่สุด (ตอนนี้) ที่ทีมงาน TBG Power ได้รับว่าจ้างให้สร้างประกอบขึ้นขณะนี้ และการออกแบบที่เราถนัดคือเครื่องยนต์ต้นกำลังต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีใช้ในระบบขนส่งทั่วไป หาอะหลั่ยได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย
เครื่องยนต์ต้นกำลังได้ลงตัวที่ เครื่องยนต์ Nissan Diesel RH10 - กำลังเครื่องยนต์ 520 แรงม้า เป็นเครื่องยนต์ 10 สูบ แบบVขนาด 26,507 cc. นำมาแปลงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงได้


เครื่องยนต์ V10 เมื่อนำมาประกอบกับไดนาโม 300kW / 375kVA - จ่ายโหลดได้สูงสุด 455A แต่ควรใช้งานที่ 80% หรือ 365A ก็พอเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน


หม้อน้ำขนาดใหญ่สูง 2 เมตรกว่าๆ และแท่นเครื่องต้องแข็งแรงรองรับเครื่องยนต์ ไดนาโม และหม้อน้ำได้ ทำไมต้องใช้หม้อน้ำใหญ่ เพราะระบายความร้อนได้ดี รองรับความสะสมของเครื่องยนต์ได้ และรักษาระดับความร้อนที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ได้


แผงคอยล์จุดระเบิด 10 ตัว รองรับระบบจุดระเบิดแบบไดเร็คคอยล์ - จะจุดระเบิดแบบอิสระต่อสูบ มีประสิทธิภาพสูง สามารถรีดกำลังเครื่องยนต์ออกมาได้หมดและประหยัดเชื้อเพลิงกว่าระบบจานจ่าย


พัดลมหม้อน้ำใช้พัดลมไฟฟ้า 4 ตัว (มอเตอร์ 1 แรงม้า) พัดลมจะทำงานทันทีที่เครื่องยนต์ของเครื่องปั่นไฟฟ้าทำงาน




การติดตั้ง ต้องแยกหม้อน้ำ และตัวเครื่องออกจากกัน เพราะไม่สามารถนำเข้าอาคารได้ และค่อยประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้งในอาคารเก็บเครื่องปั่นไฟฟ้า


ในอนาคตถ้ามีการว่าจ้างให้สร้างเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สขนาดใหญ่กว่านี้ คงต้องมาเล่นเทอร์โบกันแล้วละครับ คงสนุกกันมากกว่านี้
และสุดท้ายนี้ทีมงาน TBG Power ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกๆท่าน ที่ทำให้พวกเราพัฒนางาน พัฒนาฝีมือขึ้นครับ

ติดตามผลงานของ TBG Power ได้ที่นี้

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 จะเป็นงานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สของเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง และขึ้นเหนือต่อที่ เทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน 

3) เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง

    บ่อหมักก๊าซชีวภาพ จะรับเศษขยะอินทรีย์ที่ผ่านการบดและกวนผสมแล้ว มาหมักต่อในบ่อ ปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นเยอะพอจะเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟฟ้า ปั่นไฟฟ้าใช้ในหน่วยงาน   


ก๊าซชีวภาพที่ออกจากบ่อหมักจะต้องผ่านชุดกรอง กำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งมีสภาพเป็ดกรด เสียก่อน กรองชุดแรกจะให้ก๊าซชีวภาพผ่านน้ำด่าง กรองชุดที่สองให้ก๊าซชีวภาพผ่านเศษฝอยเหล็กเป็นการลดความชื่นและก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซที่ผ่านชุดกรองแล้วจะสะอาดและพร้อมจะเป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้วครับ


 เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW พร้อมตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS (Automatic Transfer Switching)


หม้อน้ำขนาดใหญ่ ช่วยระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ได้ดีเพราะเครื่องปั่นไฟฟ้าตั้งอยู่กับที่


4) เทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน

    บ่อกวนผสมเศษขยะอินทรีย์ เป็นการเร่งปฏิกิริยาให้เกิดก๊าซชีวภาพเร็วขึ้น ก่อนจะส่งน้ำขยะไปหมักต่อที่บ่อหมักก๊าซชีวภาพต่อไป


ชุดกรองก๊าซชีวภาพ


เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW


หลังการติดตั้งเสร็จทุกครั้ง จะทดสอบการทำงานเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สและจะมีเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  กับหัวหน้าหน่วยงานของเทศบาลตำบลนั้นๆ ตรวจรับงานครับ


ทีมงาน TBG Power ขอขอบพระคุณ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่ไว้ใจในเครื่องปั่นไฟฟ้าของเราครับ

และคอยติดตามผลงานเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 300kVA ใช้เครื่องยนต์ 10 สูบ 26,000 cc. 
 

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน ตอนที่ 1

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยติดตั้งระบบผลิตพลังงานจากขยะประกอบด้วยระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์และระบบผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF (Refuse-Derived Fuel) สำหรับขยะที่เผาไหม้ได้ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักขยะอินทรีย์ได้นำไปใช้กับครัวเรือนที่อยู่ใกล้เคียงจำนวน              20-30 ครัวเรือน และบางแห่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงฆ่าสัตว์
จากการเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาระยะหนึ่ง พบว่าในเทศบาล 4 แห่ง ได้แก่เทศบาลตำบล      บ้านกลาง จังหวัดลำพูน เทศบาลตำบลโคกกรวด จังหวัดนครราชสีมา เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง และเทศบาลตำบลอิสาณ จังหวัดบุรีรัมย์ ก๊าซชีวภาพที่ได้ยังมีปริมาณเหลืออยู่ค่อนข้างมาก ทางเทศบาลทั้ง   4 แห่ง จึงต้องการที่จะพัฒนาต่อ
ยอดโครงการโดยนำก๊าซชีวภาพมาผลิตไฟฟ้า เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์ด้านพลังงานได้อย่างคุ้มค่า และยังสามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป จึงได้ขอรับการสนับสนุนการพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้ามายัง พพ. 
พพ.ได้ติดต่อ TBG Power ให้ออกแบบเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สให้กับเทศบาลทั้ง 4 แห่ง ซึ่งจากประสบการณ์ที่เราได้ออกแบบเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สให้กับ โครงการขยะชุมชนของเทศบาลเดชอุดม จ.อุบลราชธานี มาก่อน TBG Power ได้ออกแบบเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 30kW / 40kVA ใช้เครื่องยนต์ดีเซลแปลงระบบ ISUZU 6BB1 (ขนาด 4900 cc ) เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลัง ให้กับเทศบาลทั้ง 4 แห่ง เพราะโรงแยก/ย่อยขยะ และบ่อกวนขยะ ใช้มอเตอร์ขนาด 3 - 10 แรงม้า ดังนั้นเครื่องยนต์ต้นกำลังของเครื่องปั่นไฟฟ้าต้องมีกำลังมากพอที่จะรับโหลดมอเตอร์ขณะเริ่มทำงานได้

1) เทศบาลตำบลโคกกรวด จังหวัดนครราชสีมา


กรองสำหรับไว้กรองก็าซชีวภาพ ชุดกรองนี้จะทำหน้ากรองก๊าซไฮโดรซัลไฟด์มีสภาพเป็นกรดออกจากก๊าซชีวภาพ เพื่อลดกรดกัดกร่อนเครื่องยนต์


มีชุดกรองก็าซชีวภาพอีกชุดอีก เพื่อกรองให้ก๊าซชีวภาพสะอาด มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด้น้อยที่สุด ให้มีเฉพาะก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิงเข้าไปที่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ต้นกำลังเครื่องปั่นไฟฟ้า


ชุดเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส จะมีตู้ควบคุมไฟฟ้าทำหน้าที่ตัดสลับไฟฟ้าระหว่าง ไฟหลวงกับไฟเครื่องปั่นไฟฟ้าเพื่อนำไฟฟ้าไปใช้งาน


2) เทศบาลตำบลอิสาณ จังหวัดบุรีรัมย์


ชุดเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส นี้เป็นการออกแบบให้เหมือนกันทั้ง 4 ชุด ดังนั้นอุปกรณ์หลักๆ จะเหมือนกัน จะแตกต่างกันบ้างนิดหน่อยตามแต่สถานที่ติดตั้ง


การดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟฟ้าง่ายๆ เหมือนดูแลรถยนต์คันหนึ่ง หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำในหม้อน้ำ ระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ เป่ากรองอากาศ และสังเกตุการทำงานว่าปกติไหม


ซึ่งสังเกตุจากเสียงเครื่องยนต์ ความร้อนรอบๆเครื่องปั่นไฟฟ้า และอาการสั่นของเครื่องปั่นไฟฟ้า ถ้าตรวจพบความผิดปกติ ให้หาสาเหตุซึ่งถ้าไม่ทราบให้โทรมาสอบถามกับ TBG Power ได้


อีก 2 เทศบาลตำบล ติดตามได้ตอนที่ 2 เดือนถัดไปครับ

TBG power มีผลงานกับเกษตรกร บริษัทและหน่วยงานราชการ แต่ยังไม่มีผลงานกับโครงการปั่นไฟฟ้าขายเลย...


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 100kVA ที่อุบลราชธานี

ฟาร์มสุกรขุน 6 โรงเรือน เลี้ยงสุกรประมาณ 4,200 ตัว แต่ละเดือนใช้ไฟฟ้าหลายหมื่นบาท ปีละหลายแสนบาท เป็นค่าจ่ายหลักๆ ของการเลี้ยงสุกรเลยทีเดียว การนำเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สจะช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้



เครื่องยนต์ต้นกำลัง เราใช้เครื่องยนต์รถบรรทุกสิบล้อ Hino EM100 เป็นเครื่องยนต์สูบเรียง 6 สูบ ขนาด 8,000cc นำมาแปลงระบบเพื่อให้ใช้ไบโอแก๊สเป็นเชื้อเพลิงได้


ถ้งสามใบข้างๆ เครื่องปั่นไฟฟ้าเป็นถังบรรจุฝอยเหล็ก ทำหน้าที่ดักจับกรดที่ปนมากับไบโอแก๊สเพื่อป้องกันกรดเข้าไปกัดกร่อนกระบอกสูบและลูกสูบ ของเครื่องยนต์


ท่อม่านน้ำด่าง ทำหน้าที่ลดกรดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด้ที่ปนมากับไบโอแก๊ส


ตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS (Auto Transfer Switching) ทำหน้าที่ตัดสลับไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟหลวงและไฟจากเครื่องปั่นไฟฟ้า


บ่อหมักไบโอแก๊สแบบบ่อดิน ขนาดใหญ่ เป็นบ่อที่ลงทุนต่ำกว่าบ่อซีเมนต์มาก แต่ต้องวางระบบชักกาก (ขี้หมู) ให้ดี

ติดตามผลงานของเราได้ที่นี้



วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 60kVA ช่องสาริกา ลพบุรี

ที่ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี มีฟาร์มสุกรกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ทั้งฟาร์มขนาดเล็กจนถึงฟาร์มขนาดใหญ่หลายๆ โรงเรือน
ฟาร์มที่ไปติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าเป็นฟาร์มขนาดกลาง  3 โรงเรือน เครื่องปั่นไฟฟ้าที่เหมาะสมคือขนาด 60kVA รองรับโหลดไฟฟ้าสูงสุด 50A และเหมาะสมต่อขนาดบ่อไบโอแก๊ส



ใช้เครื่องยนต์ Isuzu 6BD1 เครื่องยนต์สูบเรียง 6 สูบ ขนาด 6,000cc มาแปลงระบบ เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลัง


กรองไบโอแก๊ส ภายในถังบรรจุฝอยเหล็ก (ขี้กลึง) เพื่อดักจับกรดที่ปนมากับไบโอแก๊ส และป้องกันกระบอกสูบ ลูบสูบของเครื่องยนต์


กรองไบโอแก๊ส แบบม่านน้ำด่าง เพื่อลดปริมาณกรดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปนมากับไบโอแก๊ส


บ่อหมักไบโอแก๊ส แบบบ่อปูนซีเมนต์ (แบบ ม.ช)

ติดตามผลงานของเราได้ที่นี้


วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 300kVA ที่ สุรินทร์

เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊สขนาด 300kVA เครื่องที่สองที่ประกอบและติดตั้งในประเทศ เพราะเป็นเครื่องขนาดใหญ่ต้องใช้ไบโอแก๊สจำนวนมากเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นฟาร์มที่ใช้ต้องมีบ่อแก๊สที่ใหญ่และมีจำนวนหมูจำนวนมากๆ
ฟาร์มที่ไปติดตั้งเป็นฟาร์มไก่ไข่และฟาร์มสุกร ที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จึงไม่มีปัญหาเรื่องมูลสัตว์ที่จะนำมาหมักผลิตเป็นไบโอแก๊ส


โรงเรือนเครื่องปั่นไฟฟ้ายังไม่เสร็จ


เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส 300kVA (ใช้เครื่องยนต์ Hino F21C 21,000cc เครื่อง V.8 มาแปลงระบบ) และตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS 250A



ระบบกรองไบโอแก๊สแบบ ม่านน้ำและมีเดียร์ น้ำด่าง ขนาดใหญ่ให้คู่ควรกับเครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดนี้ครับ


บ่อหมักไบโอแก๊สแบบบ่อปูนซีเมนต์ (แบบ ม.ช ) ขนาดใหญ่

ติดตามผลงานของเราได้ที่นี้